นวดไทย
ตำรับยาไทย
สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : aorchaweewan26@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

   ดูทั้งหมด
         ทางเดินของเส้นประธาน หมายถึง ทางเดินของพลังลมที่แล่นภายในร่างกายซึ่งสามารถรับรู้ได้เมื่อกดจุดที่สัมพันธ์กับเส้นประธานนั้นๆ
ทางเดินดังกล่าวมีทิศทางที่แน่นอนและมีลักษณะเป็นแนวแถวทอดไปอย่างมีระเบียบ

องค์ความรู้ที่ว่าด้วยเรื่องทางเดินเส้นประธานสิบมีแหล่งที่มาจาก
1) ศิลาจารึกแผนนวดวัดพระเชตุพนฯ สมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๗๕
2) แผนนวดปีกุนสปตศก ๑๒๓๗ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๑๘
3) ทางเดินเส้นประธานตามตำราโรคนิทานคำฉันท์ ๑๑
4) ตำราแผนนวดฉบับหลวงพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๙
5) ทางเดินเส้นประธานสิบโครงการฟื้นฟูการนวดไทย (ฟนท.) มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.) และคณะ


1. ศิลาจารึกแผนนวดวัดพระเชตุพนฯสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๗๕
เป็นแผนนวดหลักที่มีองค์ความรู้ที่การนวดไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงโปรดให้จารึก “แผนนวด” ทั้งแผนหงายและแผนคว่ำ
ไว้ที่ศาลารายทั้งหมด ๖๐ ภาพ

2. แผนนวดปีกุนสปตศก ๑๒๓๗  (แผนนวดปีกุนสปตศก ๑๒๓๗ พ.ศ.๒๔๑๘)
เป็นแผนนวดที่ทำคัดลอกสืบต่อกันมามีจำนวน ๓๖ ภาพภาพวาดหุ่นที่ใช้แสดงเส้นและจุดแก้อยู่ในท่ายักษ์ (ยืนฉาก)
ตามแบบตัวละครในวรรณคดีไทยการวาดหุ่นในท่ายืนฉาก


( ติดตามในตอนที่ 3 )

ตอนที่ 2
ทางเดินเส้นประธานสิบ








                                                                  










  
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากหนังสือการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเส้นสิบ
พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อกันยายน 2555
รูปที่ 1   ภาพแผนนวดศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ แสดงเส้นทั้งสิบ แผนหงาย

รูปที่ 2   ภาพแผนนวดศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ แสดงเส้นทั้งสิบ แผนคว่ำ